การจัดการความรู้ (Knowledge management)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2
   
  เครือข่ายความคิด พันธมิตรความรู้
  การหาคุณภาพเครื่องมือ
 

                     

การจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะใกล้เข้ามาแล้ว  เริ่มมีเสียงบ่นจากครูบางท่านว่ายังไม่มีนวัตกรรมเลย  แล้วนวัตกรรมที่ว่านั้นคืออะไร...
     นวัตกรรม คือ วิธีการหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสิ่งใหม่ ที่สามารถปฏิบัติได้จริง(บางครั้งก็เก่าที่อื่น  แล้วมาใหม่ที่เราเนื่องจากเราปรับให้เหมาะกับบริบทปัญหาของห้องเรียนเรา)  เมื่อนำนวัตกรรมที่ครูจัดสร้างแล้วนำไปใช้กับนักเรียน   สามารถแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้  นวัตกรรมจึงเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ      จะต้องมีความเที่ยง(VALIDITY)และความเที่ยง(RELIABILITY)ที่สูง....
        เรามาเข้าใจความหมายของความตรงและความเที่ยงกันก่อนครับ  เนื่องจากมีปัญหามาก เริ่มตั้งแต่การใช้คำแล้วครับ   "ความตรง" มาจากภาษาอังกฤษว่า "VALIDITY" คำนี้หนังสือ บทความ งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ ใช้คำนี้อยู่สองคำ คือ "ความตรง" เป็นคำจากท่านอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้กัน  และ "ความเที่ยงตรง" เป็นคำจากอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร นิยมใช้    ส่วนคำว่า "ความเที่ยง" มาจากภาษาอังกฤษว่า "RELIABILITY" คำนี้ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒฯ ใช้คำว่า "ค่าความเชื่อมั่น" ส่วนทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ใช้คำว่า "ค่าความเที่ยง"และมีตำราวิจัยจากนิด้าบางเล่มใช้ คำว่า"ค่าความน่าเชื่อถือ" งงกับคำที่ใช้เกี่ยวกับคุณภาพเครื่องมือก่อนหาคุณภาพเครื่องมือเสียแล้ว  มาถึงตรงนี้แล้วคุณครูทุกท่านคงเข้าใจที่มาของคำแล้วนะครับ.....
   การรวบรวมข้อมูลให้ได้ผลถูกต้อง สมบูรณ์ครบถ้วน  จำเป็นต้องมีเครื่องมือมีทั้งความตรงและความเที่ยงสูง  สำหรับเครื่องมือที่มีความตรงนั้นสามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน  เครื่องมือที่มีความตรงจึงแสดงคุณสมบัติลักษณะที่วัดได้  3 ประการ คือ 1)ผลของการวัดสามารถแสดงค่าตามที่ต้องการได้ 2)สามารถวัดได้ตรงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ทีกำหนดไว้ 3)ค่าที่ได้จากการวัดจะแสดงคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งที่วัด  สำหรับความตรงมี  3 ประเภท คือ 1)ความตรงตามเนื้อหา(CONTENT VALIDITY)
2)ความตรงตามโครงสร้าง(CONSTRUCT VALIDITY) 3)ความตรงเชิงสัมพันธ์กับเกณฑ์(CRITERION RELATED VALIDITY)
        ตอนนี้คุณครูทุกท่าน  พอจะทราบแล้วนะครับว่า  เครื่องมือที่มีความตรงเป็นอย่างไร และความตรงยังแบ่งออกเป็น 3 ประเภทอีกด้วย   ผมจะขอกล่าวเฉพาะความตรงเชิงเนื้อหาอย่างเดียวนะครับ
ความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ หมายถึง ข้อคำถามหรือข้อความแต่ละข้อและรวมทุกข้อที่เป็นเครื่องมือทั้งชุดนั้น ถามได้ตรงและครอบคลุมเนื้อหาหรือไม่  ข้อความที่ถามทั้งหมดเป็นตัวแทนของเนื้อหา
เครื่องมือรวบรวมข้อมูลว่ามีความตรงตามเนื้อหานั้น    ใช้การวิเคราะห์เชิงเหตุผลที่ต้องอาศัยดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญทางเนื้อหาเป็นเกณฑ์  นิยมทำกันสองระยะคือ ระยะแรกเป็นการตรวจสอบตอนสร้างเครื่องมือระยะหลังเป็นการตรวจสอบตอนการพัฒนาเครื่องมือ  ซึ่งพิจาณาจากค่า I.O.C. หรือค่า I.C. หรือค่า  I.V.C.แล้วแต่ตำราไหนจะใช้(เพราะเป็นค่าเดียวกัน)ค่าที่ได้และเป็นที่ยอมรับกันก็ไม่เหมือนกัน
เริ่มตั้งแต่ .50ขึ้นไปใช้ได้ หนังสือบางเล่มก็ .60ขึ้นไปใช้ได้  หนังสือบางเล่มก็ .80ขึ้นไป เห็นไหมครับ..... งงไหมครับก็หนังสือบางเล่มบอกว่า หนังสือเล่มไหนกันครับ
    เครื่องมือที่รวบรวมที่มีความเที่ยงสูง(RELIABILITY)คือเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลกี่ครั้งๆจะได้ค่าที่ใกล้เคียงกัน  วิธีหาค่าความเที่ยงหรือความเชื่อมั่นก้ฒีหลายแบบ  แต่ที่คุณครูคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
คือ การให้คะแนนแบบตอบผิดได้ 0 และตอบถูกได้ 1 ใช้วิธีหาค่าความเที่ยงโดยวิธีที่เรียกว่าค่า KR-20และKR-21  เครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า(RATING SCALE)ก็ใช้วิธีของครอนบาช แอลฟ่า  ค่าที่ได้ก็ต้องอยู่ในกรอบที่ยอมรับได้     

 
  Today, there have been 1 visitors (1 hits) on this page! powered by chalor aiemsaard  
 
เวทีเสมือนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) หมวด 4 รหัส IT 7สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2 webmaster:achalor@gmail.com This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free