การจัดการความรู้ (Knowledge management)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2
   
  เครือข่ายความคิด พันธมิตรความรู้
  วิธีปฎิบัติ ดี ดี
 

แผนการสอน ที่ใช้ Best practice นำทาง
ในภาคการศึกษานี้ ผมจึงจะลองใช้กรณีศึกษา สดๆใหม่ๆ ที่ผมสรุปประเด็นการพัฒนาแบบ “บูรณาการ” ที่เป็นจริง เป็น successful case ที่เป็นสามารถใช้เป็นสื่อนำการเรียนรู้แนวทาง การจัดการทรัพยากรที่ดินแบบบูรณาการ เป็นกรณีตั้งต้น

 วันนี้เป็นวันแรกที่ผมจะสอนวิชา การจัดการทรัพยากรที่ดินแบบบูรณาการ ประจำภาคปลายปีการศึกษา ๒๕๕๐ เมื่อภาคการศึกษาที่แล้วผมลองใช้ ประเด็นปัญหานำทางในการสอน  โดย

  • ให้นักศึกษาแจกแจงปัญหากันเอง
  • ผมช่วยสรุปประเด็นและเชื่อมโยงให้เห็น สมุทัย
  • แล้วย้อนมาหาเป้าหมายของแผน นิโรธ
  • จนถึง มรรค เป็นภาคทางเลือกปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา
  • แล้วจึงสรุปประเด็นการเรียนรู้ทั้งหมดด้วยทฤษฏีและหลักการทำงานกับชุมชน และหน่วยราชการทุกภาคส่วน ว่ามีขั้นตอน อุปสรรค และแนวทางการแก้ปัญหาอย่างไร

 ปรากฏว่านักศึกษาส่วนหนึ่งที่ ตั้งท่าจดอย่างเดียว ตามไม่ค่อยทัน  ตั้งแต่ในเชิงปัญหาของพื้นที่ และการจัดการที่นักศึกษาจำนวนหนึ่ง

 

  • ไม่เข้าใจประเด็นและกลไกของปัญหา
  • และไปติดอยู่กับปัญหาแบบฉาบฉวย ไม่ใช่แก่นแท้
  • ที่ทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงกับการแก้ปัญหา จนเข้าใจสมุทัย ได้
  • การกำหนดเป้าหมายในการแก้ไข จึงยิ่งไม่ตรงประเด็น
  • เมื่อผมดึงเข้าทฤษฎีและหลักการ ก็งง และจับอะไรไม่ได้
  • ทำให้ตอบข้อสอบ
    • แบบวัดความจำได้
    • แต่วัดความเข้าใจไม่ค่อยได้
    • และข้อสอบที่วัดการประยุกต์แทบไม่ได้เลย
 หลังการประเมินการสอนโดยผู้เรียนแล้ว ทำให้ผมคิดว่าจะต้องลองปรับวิธีการสอนใหม่ เพื่อให้มีสัดส่วนของการบรรลุผลความสำเร็จในการเรียนรู้ได้สูงกว่าเดิม
      • ทั้งเชิงปริมาณ (คนที่เข้าใจ และนำไปปรับใช้) และ
      • คุณภาพ (ระดับความเข้าใจ และระดับความสามารถในการประยุกต์)

 เมื่อก่อนหน้านี้ ผมเคยใช้วิธีการ

 

  • นำเสนอทฤษฎีในเรื่องที่เกี่ยวกับหัวข้อการเรียน
  • หลักการ เทคนิค วิธีการทำงาน แบบเดียวกับขั้นตอน ที่เขียนไว้ในตำราแทบทุกเล่ม
  • แล้วจึงค่อยอธิบายเชิงประยุกต์เข้าสู่การใช้งาน ประเด็นปัญหา ทางออก และแนวทางแก้ไข

 

ปรากฏว่า นักศึกษาที่เรียนส่วนใหญ่

 

  • ท่องจำได้ดีอย่างเป็นขั้นตอน
  • แต่ ไม่สามารถนำความรู้ไปใช้งานจริงได้
  • และ เมื่อวัดผลแล้ว
    • สามารถตอบข้อสอบแบบท่องได้
    • แต่ตอบข้อสอบแบบวัดความเข้าใจไม่ค่อยได้
    • และไม่สามารถตอบข้อสอบที่วัดการประยุกต์ใช้ได้

 ที่ผมเลิกใช้วิธีการนี้ มาเกือบ ๒๐ ปีแล้ว เพราะผมไม่เห็นด้วยกับการเรียนแบบท่องจำ แล้วนำความรู้ไปใช้ไม่ได้ 

ดังนั้น ในภาคการศึกษานี้ ผมจึงจะลองใช้กรณีศึกษา สดๆใหม่ๆ ที่ผมสรุปประเด็นการพัฒนาแบบ บูรณาการ ที่เป็นจริง เป็น successful case ที่เป็นสามารถใช้เป็นสื่อนำการเรียนรู้แนวทาง การจัดการทรัพยากรที่ดินแบบบูรณาการ ไว้ใน Utopia Utopai (สวรรค์เมืองปาย) เป็นกรณีตั้งต้น

 

ที่แสดงถึง  ความเหมาะสมของ 

·        ระบบนิเวศเดิม

·        การจัดการที่ดินและทรัพยากรที่ดิน

·        การจัดการน้ำ และการจัดการแหล่งน้ำ  

·        การทำฝายหินชะลอการไหลของน้ำ

·        ระบบการทำการเกษตร ทั้งดังเดิม และสมัยใหม่

·        ระบบสังคม ประชากร ชนเผ่า

·        ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม

·        และการพัฒนาการท่องเที่ยงของเมืองปาย 

ที่เป็น Best practice ของการจัดการทรัพยากรที่ดินแบบบูรณาการ 

โดยเฉพาะ 

ประเด็นแผนสนับสนุนการพัฒนาเชิงการท่องเที่ยวนั้น เมืองปายได้จัดลงตัวได้อย่างพอเหมาะ 

·        มีระบบโครงสร้างพื้นฐาน ถนน ไฟฟ้า น้ำ สังคม เคื่องอำนวยความสะดวก นานาประการ

·        ระบบบริการนักท่องเที่ยวทุกรูปแบบ

·        ระบบธุรกิจบริการ ที่พัก อาหาร ความปลอดภัย ของที่ระลึก

·        ระบบทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดูแล และตกแต่งไว้เป็นอย่างดี

·        ระบบการทำการเกษตรที่ทำให้เกิดทิวทัศน์สวยงามน่าชม

·        ระบบชุมชนท้องถิ่นที่สวยงามแปลกตา

·        ระบบศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ หลากหลายที่สอดคล้องกลมกลืน เรียบง่าย แต่ลึกซึ้ง สวยงาม 

แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ต้องคิดต่อ แบบเป็นจริงว่า สวรรค์เมืองปาย (Utopia Utopai) นั้น จะเป็นสาวสวย สะพรั่ง ไปได้อีกนานแค่ไหน

ที่ผมจะดึงเข้าประเด็นปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด ของกิจกรรมที่แม้จะเป็น Best practice อยู่ในปัจจุบัน  

เช่น  

จากการประเมินเชิงทรัพยากรน้ำ  

·        ตอนนี้ก็เริ่มเกิดการแก่งแย่งขาดแคลน และปนเปื้อนของแหล่งน้ำ

·        ที่อาจเป็นชนวนจำกัดความร่วมมือของผู้เสียเปรียบในสังคม

·        แต่ก็ยังมีข้อเสนอทางออกในการจัดระบบประปาชุมชน แทนระบบประปาภูเขา

·        โดยภาพรวมก็จะทำให้ลดโอกาสของการเกิดปัญหาได้ 

ในเชิงสังคม

·        แรงดึงดูดของรายได้นอกภาคเกษตร อาจทำให้กิจกรรมในภาคเกษตรลดลง

·        ที่จะทำให้ภูมิทัศน์เชิงเกษตรลดลงหรือหายไป

·        ที่อาจจำเป็นต้องวางแผนด้านนี้ให้ชัดเจน ทั้งในระดับชุมชน เมือง และทั้งพื้นที่ 

และประเด็นที่น่าจะสำคัญ ที่มีผลกระทบค่อนข้างรุนแรง 

  • แล้วจึงจะดึงประเด็นเข้าสู่อุปสรรคและแนวโน้มของปัญหา
  • และแนวทางในการจัดการทั้งในปัจจุบันและอนาคต 

ที่ผมเชื่อว่าจะทำให้นักศึกษา

  • ติดตามเรื่อง
  • เข้าใจบริบทของ การจัดการทรัพยากรที่ดินแบบบูรณาการ และ
  • น่าจะเริ่มมองเห็นประเด็นทางวิชาการได้ดีกว่าเดิม 

และ ในที่สุดผมจะปิดท้ายด้วยวิธีการทำงานแบบมีส่วนร่วม กับทุกภาคส่วนแบบบูรณาการ

เช่น 

เรื่องนี้ผมได้มีโอกาสหารือกับท่าน ผอ. พิทักษ์ อินทพันธ์ ว่าที่ ผอ. สำนักงานพัฒนาที่ดิน ที่มีภาระหน้าที่ด้านการพัฒนาที่ดิน และ ท่าน ผอ. พิสุทธิ์ ศาลากิจ แห่งกรมพัฒนาที่ดิน ที่เคยทำงานทั้งที่ปาย และปางมะผ้า 

ทั้งสองท่านได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และคาดว่าจะมีโครงการมาสนับสนุนการ พัฒนาที่ดิน

ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ให้ยั่งยืนสืบไป

 ทั้ง

·        ดินและที่ดิน

·        น้ำ และแหล่งน้ำ

·        การดูแล ต้นไม้ พืชพรรณ และป่าไม้

·        ส่วนงานด้าน สังคม วัฒนธรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอื่นๆ นั้นต้องประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านที่เกี่ยวข้องต่อไป

 ที่ผมจะค่อยๆปรับกระบวนการสนับสนุนการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของนักศึกษาส่วนใหญ่  

จะประเมินผล และรายงานมาที่ gotoknow เป็นระยะๆ และสรุปผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ตอนปลายภาคการศึกษา ครับ 

วันนี้ อยากฟังความเห็นของ

  • นักศึกษาจากชั้นเรียน ที่เข้ามาตามอ่าน และ
  • ท่านปรมาจารย์ ด้านการสนับสนุนการเรียนรู้ และการจัดการความรู้ในชั้นเรียนระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าครับ 

ท่านเห็นว่าควรจะปรับปรุงอะไรบ้างครับ 

ดร. แสวง  รวยสูงเนิน 
 





 


 
 
  Today, there have been 1 visitors (1 hits) on this page! powered by chalor aiemsaard  
 
เวทีเสมือนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) หมวด 4 รหัส IT 7สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2 webmaster:achalor@gmail.com This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free