การจัดการความรู้ (Knowledge management)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2
   
  เครือข่ายความคิด พันธมิตรความรู้
  การเรียนรู้ด้วยโครงงาน
 

แนวทางการสอนโครงงานเพื่อพัฒนานักเรียน

  

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เวทีการเรียนรู้ เรื่อง การสอนให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่ปรับเปลี่ยนบทบาทของผู้เรียนจากผู้รับความรู้เป็นสร้างความรู้ของตนเอง โดยนำหลักการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ของตนเอง มาใช้ในลักษณะของการหลอมรวมบูรณาการกับกระบวนการเรียนรู้ที่ครูและ ผู้เรียนได้ร่วมกันเลือกให้เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชา วัย ความสนใจของผู้เรียนและความพร้อมด้านต่าง กำหนดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้กระบวนการเรียนรู้ สร้างความรู้ของตนเอง เพื่อความสำเร็จในการเรียนรู้ ความสุขและความภาคภูมิใจในตนเอง รูปแบบการสอนให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเองเป็นแนวทาง การสอนที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกเนื้อหา วิชาและผู้เรียนทุกระดับชั้น เป็นรูปแบบการสอนที่นำไปใช้เพื่อยกระดับคุณภาพการสอนให้เป็นการสอนที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพรอบด้าน เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ .. ๒๕๔๒ การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนทำโครงงานได้สำเร็จ พบประเด็นปัญหาและข้อสรุปที่น่าสนใจหลายเรื่อง วันนี้จึงขออนุญาตคุยเรื่องโครงงาน การเรียนรู้ด้วยโครงงาน : แนวทางการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่มีประสิทธิภาพ

ทำอย่างไรนักเรียนจึงอยากทำโครงงานและทำโครงงานได้

โครงงานเป็นงานวิจัยเล็ก ของเด็ก ตอบสนองความกระหายใคร่รู้ ปลูกฝังนิสัยรักการเรียนรู้ รักการทำงาน มีค่านิยมในการสร้างผลผลิต มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง ตั้งมั่นยึดความสำเร็จ และคุณค่าประโยชน์เป็นเป้าหมาย ฝึกทักษะการคิด การทำงานที่เป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผล คำนึงถึงความเชื่อมโยงความสัมพันธ์สิ่งต่าง ฝึกความพากเพียร อดทนพยายาม รวมทั้งความสำนึกรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม

การเรียนรู้ด้วยโครงงาน เป็นการเรียนรู้แบบองค์รวม ที่เอาปัญหาความจำเป็นของชีวิต และสังคมเป็นตัวตั้ง เชื่อมโยงบูรณาการหลาย สาระการเรียนรู้ และทักษะต่าง เข้าด้วยกัน เรียนรู้จากประสบการณ์ การเผชิญสถานการณ์ปัญหาจริง ลงมือปฏิบัติจริงในการปรับปรุงพัฒนา แก้ปัญหาของตนเอง สังคมแวดล้อมรอบ ตัว เกิดการเรียนรู้พัฒนาทั้งความรู้ ความคิด คุณลักษณะและทักษะต่าง รวมทั้งค้นพบความถนัดความสนใจของตนเอง มีความสุขภาคภูมิใจในตนเอง

โครงงานควรจะเกิดจากความสนใจของผู้สอนหรือผู้เรียน การทำโครงงานบางครั้งกลายเป็นเรื่องของผู้สอนมากกว่าผู้เรียน นักเรียนไม่มีความสนใจ ไม่อยากทำโครงงาน ไม่อยากเรียนรู้นอกเหนือจากการเรียนรู้ปกติ ทั้งนี้เป็นเพราะกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดในชั้นเรียนยังไม่เอื้อให้ผู้เรียน สนุก อยากต่อยอดการเรียนรู้ หรือมีประเด็นปัญหาที่สงสัยอยากหาคำตอบเพิ่มเติม อยากลงมือแก้ปัญหาหรือมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา หรือพัฒนาสิ่งต่าง ด้วยตนเอง

การเรียนรู้ที่กระตุ้นความกระหายใคร่รู้ต้องเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีความหมาย เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ตรงกับความถนัดความสนใจ เรียนรู้จากการคิดปฏิบัติจริง มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ทั้งทางความคิด ทางภาษา ทางร่างกาย ฯลฯ จนผู้เรียนสามารถสร้างข้อสรุปด้วยตนเอง เกิดการเรียนรู้ มีความสุขและภาคภูมิใจในตนเองเพราะรู้สึกว่าตนเองพบความสำเร็จ จึงมีแรงบันดาลใจอยากเรียนรู้เพิ่มเติม และตัดสินใจที่จะทำโครงงานในที่สุด

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นเนื้อหาความรู้ เน้นการให้ขัอมูล ส่งข้อมูล รับข้อมูล ตรวจสอบติดตามประเมินผลการจดจำข้อมูลด้วยการสอบวัดด้วยแบบทดสอบ มากกว่าการประเมินพัฒนาการรอบด้าน ความสามารถที่แท้จริงบนความเป็นตัวของตัวเอง เช่นพัฒนาการเรื่องทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้รับความรู้ มากกว่าเรียนรู้ด้วยตนเองจากการคิด การปฏิบัติจริง จึงไม่เกิดความกระหายใคร่รู้ การกำหนดหัวข้อโครงงานจึงเป็นการสั่งการ การชี้นำของครูผู้สอนค่อนข้างมาก นักเรียนไม่ตระหนักไม่อยากทำ ไม่ได้เป็นผู้ออกแบบร่างโครงงานเอง จึงมองไม่เห็นภาพของภาระงานตลอดแนว คิดเองไม่เป็น ได้แต่ทำตามคำสั่งของครู ครูต้องเคี่ยวเข็ญกำกับทุกขั้นตอน หมดความสุขทั้งครูผู้สอนและนักเรียนผู้ได้รับมอบหมายให้ทำโครงงาน ในที่สุดการทำโครงงานเป็นเรื่องน่าเบื่อ เรื่องเหนื่อย มากกว่าน่าสนุก

นักเรียนทำโครงงานด้วยตนเองไม่ได้ เพราะขาดทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทักษะการคิดการทำงานอย่างเป็นระบบ ทักษะทางภาษา ทักษะการสื่อสาร ฯลฯ รวมทั้งขาดความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการทำโครงงาน นอกจากนั้นการเรียนรู้ด้วยโครงงานที่เน้นรูปแบบมากกว่าขั้นตอนการคิดปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผนออกแบบร่างโครงงาน วางแผนการทำงาน ลงมือทำงาน บันทึกสรุป นำเสนอผลงาน ยังให้ความสำคัญน้อย ผู้เขียนขอเสนอตัวอย่างคำถามเพื่อให้ครูผู้สอนใช้เป็นแนวทางช่วยให้นักเรียนทำโครงงานด้วยตนเองได้สำเร็จ เช่น
1.
อยากรู้ อยากเปลี่ยนแปลงอะไร
2.
ทำไมถึงอยาก สิ่งนั้นมีคุณค่าอย่างไร
3.
ทำอย่างไรจึงจะรู้คำตอบ หรือเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ
4.
มีความรู้ทักษะในงานที่จะทำหรือยัง ถ้ายังต้องทำ อย่างไร ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง
5.
วางแผนการทำงานอย่างไร ทำอะไรบ้าง เมื่อไร คำตอบที่คิดว่าจะได้คืออะไร
6.

 
  Today, there have been 1 visitors (1 hits) on this page! powered by chalor aiemsaard  
 
เวทีเสมือนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) หมวด 4 รหัส IT 7สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2 webmaster:achalor@gmail.com This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free